AI Technology

23.05.2025

【AI for Business】สำรวจความท้าทาย และอนาคตของ AI for Business ในไทย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนใคร

ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เห็นตรงกันว่าเทรนด์ AI for Business หรือ AI สำหรับธุรกิจจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กร ดังนั้นเรามาสำรวจความท้าทาย และแนวโน้มในอนาคตของ AI กันสักหน่อยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งการสำรวจนั้นมาจากประสบการณ์ตรงจากการทำงานของ ดร.ภมรพล ชินะจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเจ็น จำกัด ซึ่งการสำรวจนั้น ส่งผลดีให้เราเห็นความท้าทายของการก้าวเข้าสู่การใช้งาน AI เพื่อนำมาประยุกต์กับองค์กรตัวเอง ให้มีความพร้อม และดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างยั่งยืน

ความท้าทายในการนำ AI Solutions เข้าไปใช้จริงในธุรกิจ
ดร.ภมรพล แยกความท้าทายของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ดังนี้

1. ความท้าทายจากคน เพราะ AI เป็นเรื่องใหม่ คนเคยผ่านการทำงานแบบ manual และประสบความสำเร็จมาก่อน มักเคยชินกับการทำงานแบบเก่า จึงยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ยาก และไม่เชื่อในศักยภาพของ AI

2. ความท้าทายเรื่องของ Process เนื่องจากหลายบริษัทไม่มีความพร้อม และความเข้าใจ บางแห่งแม้แต่ Digital Transformation ยังไม่ได้ทำ ดังนั้นจึงพูดเรื่อง AI ได้ยาก อีกความท้าทายหนึ่ง คือ บางบริษัท Process องค์กรไปมากแล้ว อยู่ ๆ มาบอกว่า เอา AI มาเสียบตรงนี้เลยได้ไหม? ซึ่งอย่างนี้มันไม่เวิร์ก เพราะการนำ AI มาใช้ต้องแปลงทั้ง Process จึงต้องดูภาพรวมก่อน แล้วถึงจะไปด้วยกันได้ จึงเป็นเรื่องของความท้าทายที่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจปรับตัวทั้ง Process และ Mindset ด้วย

3. ความท้าทายด้าน DATA ของบริษัท ดร.ภมรพล กล่าวว่า ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้าง AI เพราะต้องนำมาสอนให้มันเข้าใจระบบการทำงาน แต่ปรากฏว่าบางองค์กรข้อมูลน้อยมาก หลาย ๆ ธุรกิจอาจจะคิดว่าตัวเองข้อมูลเยอะ แต่บางทีข้อมูลเยอะไม่ได้หมายความว่า DATA เหล่านั้น จะใช้ได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพ ก็เข้ามาช่วย AI ไม่ได้เช่นกัน

DATA แบบไหนถึงมีประโยชน์กับ AI
เมื่อพูดถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ ดร.ภมรพล ได้กรุณาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

“เอาเรื่องที่ไม่มี Data ก่อนก็แล้วกันครับ จาก Use Cases พบว่าหลายครั้งธุรกิจไม่ได้เขียน หรือเก็บ Data เอาไว้ สมมติว่าอยากเอา AI มาใช้ แต่ปรากฏว่าเขาใช้คนตัดสินใจหน้างานตลอดเวลา แปลว่าเขาไม่เคย Record เลย นี่คือตัวอย่างของการไม่มี Data”

“ส่วนที่สอง คือ Data เยอะ แต่ใช้ไม่ได้ หมายถึงว่า สแกนเก็บไว้ทุกอย่างเยอะเลย เก็บทุกเอกสาร แต่ไฟล์ไม่มีคุณภาพมากพอ เช่น ใช้เครื่องถ่ายเอกสารเก่า ๆ เปื้อนหมึก เปื้อนเป็นจุดจนอ่านไม่รู้เรื่อง”

“อีกแบบ คือ เก็บไม่ครบ แม้จะเก็บไว้เยอะ แต่เก็บไม่ครบก็ใช้ได้ไม่ดี เช่น มีข้อมูล 1 ล้านแถว ซึ่งข้อมูลจำนวนนี้ ควรมีสัก 20 คอลัมน์ แต่ปรากฎว่า ใน 1 ล้านแถวนั้นไม่มีแถวไหนเลยที่ครบ 20 คอลัมน์ ซึ่งมันก็จะแหว่ง ถือว่าข้อมูลไม่สมบูรณ์”

เป้าหมายในอนาคตของ AIGEN
สำหรับเป้าหมายในอนาคตของ AIGEN ดร.ภมรพล กล่าวว่า อยากให้ทุกธุรกิจเข้าถึง AI ได้ง่าย สำหรับ AI GEN เอง ช่วงแรกที่ก่อตั้งให้บริการธุรกิจขนาดใหญ่เป็นหลัก ปัจจุบันกำลังพัฒนา AI ให้ unique แตกต่างจากที่มีในตลาด โดยการสร้าง AI solution หรือเครื่องมือ AI ที่ทุกธุรกิจนำไปใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันกำลังทำให้ Developer ทั่วไป ที่สร้าง Application เป็น แต่ทำ AI ไม่เป็น สามารถหยิบบริการของ AI GEN ไปปลั๊กอินกับแอปพลิเคชั่นของเขาได้อย่างง่าย ๆ เพื่อเสริมพลัง Application ของเขา”

“หรือถ้าเป็นธุรกิจลักษณะ SME ลงมา สามารถมาใช้ Tool สำเร็จรูปของเราได้ ปัจจุบันเรากำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งค่อย ๆ สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ครับ” ดร.ภมรพล กล่าว

ข้างต้น คือ ความท้าทาย และอนาคตของการเสิร์ฟโซลูชั่น AI ของ AI GEN ซึ่งสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้เพื่ออุดช่องโหว่ของตัวเองได้ ท้ายนี้ ดร.ภมรพล ได้ฝากถึงธุรกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ AI for Business ว่า

“AI Technology มาแน่ครับ ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้แน่ แม้ในวันนี้มันยังไม่ perfect แต่อยากให้ธุรกิจเปิดใจเพื่อเริ่มใช้ เพราะมี Use Cases บางอย่างเวิร์ก แล้วก็เริ่มตอบโจทย์ของเขา เพียงแต่เราต้องหาจุดนั้นให้เจอ แต่ว่าอย่างไรแล้ว ในอนาคต AI จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และราคาถูกลง จึงอยากให้เริ่มตั้งแต่วันนี้ครับ”

********

RECOMMEND